milkyway 6
milkyway 7
milkyway 8
trending
28 มีนาคม 2567
ภาษาไทย

เกาหลีใต้เตรียมหารือกับประธาน SEC เกี่ยวกับการกำกับดูแล NFT และ Bitcoin ETF

หลังการอนุมัติ Bitcoin ETF ล่าสุดในสหรัฐอเมริกา Lee Bok-hyun หัวหน้าฝ่ายบริการกำกับดูแลทางการเงินของเกาหลีใต้ (FSS) ได้เตรียมเข้าพบกับ Gary Gensler ประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (SEC) เพื่อหารือในระดับสูงเกี่ยวกับแนวทางการกับดูแล Bitcoin ETF และ NFT ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2024 นี้


Article3MARTH_1200X800.jpg


ทำไมต้องขอคำแนะนำจาก SEC และประเด็นสำคัญที่คาดว่าจะเกิดการหารือมีอะไรบ้าง? 



การนัดพบกันในครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่เกาหลีใต้เกิดวิกฤติทางกฎระเบียบ โดยต้องการจะเข้ามากำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลในปีนี้ ซึ่งการนัดพบปะหารือครั้งนี้จะเป็นการปรึกษาขอแนวทางด้านกฎหมายสำหรับการจัดประเภทสินทรัพย์ดิจิทัล ดังนี้


  • กฎระเบียบสำหรับกองทุน Spot Bitcoin  ETF: ปัจจุบันเกาหลีใต้ห้ามการซื้อขายกองทุนเหล่านี้ ในขณะที่สหรัฐฯ เพิ่งอนุมัติ ซึ่งการหารือครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปที่กรอบการกำกับดูแลที่อาจเกิดขึ้นสำหรับกองทุน Spot Bitcoin  ETF ในเกาหลีใต้

  • การจัดประเภท NFT: ปัจจุบัน NFT ยังไม่ถือเป็น "สินทรัพย์ดิจิทัล" ในเกาหลีใต้ การหารือครั้งนี้จะหาความเป็นไปได้ในการรวม NFT ไว้ในขอบเขตของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือของสะสมดิจิทัลที่ได้รับการกำกับดูแล

การประชุมที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้อยู่ท่ามกลางตลาด NFT ที่เริ่มกลับมาเป็นกระแส และถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตแตะ 3.2 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2027 ตามข้อมูลของ Statista


ด้วยความสนใจที่ในเทคโนโลยี Blockchain ที่มีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอุตสาหกรรมศิลปะ บันเทิง และเกมของเกาหลีใต้กำลังมีการพัฒนาแอปพลิเคชัน Blockchain กันอย่างแข็งขัน



ความท้าทายด้านกฎระเบียบกับสินทรัพย์ดิจิทัล


สถานะทางกฎหมายของการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain หรือ Web3 ยังคงไม่ชัดเจน สร้างการถกเถียงว่าควรได้รับการยกเว้นจากกฎระเบียบที่จะออกมาในอนาคตหรือไม่ เนื่องจากลักษณะการเก็งกำไรและความคลุมเครือในการจัดประเภทสินทรัพย์ดิจิทัล หรืออย่างเช่นในเกาหลีที่มีการควบคุมการแลกเปลี่ยนคริปโตอย่างเข้มงวดและจำกัดการเข้าถึงสำหรับนักลงทุน


ผู้สนับสนุนคริปโตต่างมีความคิดเห็นว่าการสร้างกฎระเบียบสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลอาจขัดขวางการสร้างสรรค์ นวัตกรรมหรือถูกจำกัดเสรีภาพ เนื่องจากคริปโตควรเป็นระบบที่ไร้การควบคุมจากบุคคลที่สาม รวมถึงสามารถส่งผลทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงตลาดยากขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวก็เป็นที่น่ากังวลอย่างมาก เนื่องด้วยการติดตามธุรกรรม NFT อย่างใกล้ชิดมากขึ้นอาจส่งผลให้ข้อมูลสำคัญตกอยู่ในมือผู้ไม่หวังดี


อย่างไรก็ตาม หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกยังคงศึกษาเกี่ยวกับการเงินดิจิทัล และชุมชนที่สนใจสินทรัพย์ดิจิทัลต่างรอผลการประชุมที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกฎหมายสินทรัพย์เสมือนจริงของเกาหลีใต้ (Virtual Asset Act) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำจัดการกระทำที่ผิดกฎหมายของตลาด เช่น การใช้ข้อมูลที่ยังไม่เปิดเผยสำหรับการลงทุนคริปโต และการทำธุรกรรมที่ฉ้อโกง เป็นต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลังและสามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจดิจิทัลโลกได้



สรุปความท้าทาย:

  • การรักษาสมดุลระหว่างนวัตกรรมและกฎระเบียบ: การสร้างกฎระเบียบใหม่อาจขัดขวางนวัตกรรมและทำให้การเข้าสู่ตลาดเป็นเรื่องยากสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และข้อบังคับที่เข้มงวดเกินไปอาจขัดขวางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ NFT และ Bitcoin ETF ใหม่ๆ ได้ ซึ่งอาจไปจำกัดการเติบโตและวิวัฒนาการของตลาด หรือหมายถึงผิดจากคอนเซปต์ที่แท้จริงของระบบการจายศูนย์ของโลกคริปโต

  • ความกังวลด้านความเป็นส่วนตัว: การติดตามธุรกรรม NFT อย่างใกล้ชิดก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยทั่วไปเจ้าของ NFT สามารถเก็บที่อยู่ของกระเป๋าเงินไว้เป็นความลับเพื่อป้องกันแฮกเกอร์และผู้หลอกลวง แต่หากถูกเข้ามาควบคุมข้อมูลส่วนตัวมากขึ้นก็ย่อมมีความเสี่ยงที่ข้อมูลรั่วไหลได้เช่นกัน

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น


ผลลัพธ์ของการหารือครั้งนี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัลของเกาหลีใต้เปลี่ยนไปในทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลก โดยจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่างๆ เช่น:

  • มีความชัดเจนและเสถียรภาพที่เพิ่มขึ้น : เมื่อมีข้อบังคับที่ชัดเจนสำหรับ NFT และ Bitcoin Spot ETF ก็จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่มั่นคงและคาดการณ์ได้ง่ายขึ้นสำหรับนักลงทุน ซึ่งสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมใหม่สู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลก

  • การคุ้มครองนักลงทุนที่ดีขึ้น : เมื่อมีข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานย่อมนำไปสู่การคุ้มครองนักลงทุนที่ดีขึ้น อย่างการผ่านข้อกำหนดการเปิดเผยข้อมูล มาตรการป้องกันการฉ้อโกง และการปฏิบัติตามมาตรการที่ช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นในตลาด

 

  • ลดความแตกแยกของตลาด : หากมีแนวทางการกำกับดูแลที่กลมกลืนกันในหลายประเทศสามารถช่วยลดความแตกแยกของตลาด ซึ่งช่วยให้การซื้อขายข้ามพรมแดนราบรื่นขึ้นและช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดโดยรวม

  • การรับรองตลาด : การรับรองและการกำกับดูแลอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น จีงช่วยดึงดูดนักลงทุนสถาบันและเปิดช่องทางการลงทุนใหม่ๆ


โดยทั่วไปผลของการประชุมระหว่างตัวแทนจากเกาหลีใต้กับ SEC อาจสร้างผลกระทบสำคัญต่อตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลกได้ เนื่องจากเกาหลีใต้ก็เป็นหนึ่งในผู้นำหน่วยงานกำกับดูแลตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและมักปรับระเบียบการกำกับดูแลคริปโตตามสหรัฐฯ อย่างเช่นการห้ามใช้บริการปกปิดธุรกรรม หรือห้ามใช้บัตรเครดิตซื้อคริปโต 

รวมถึงประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นอื่นๆ ทั้งด้านความชัดเจน เสถียรภาพ และการคุ้มครองนักลงทุน รวมถึงการรับมือกับความท้าทายในการส่งเสริมนวัตกรรมควบคู่ไปกับการใช้กฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพจะเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

ดังนั้น การติดตามความคืบหน้าของการประชุมเหล่านี้อย่างใกล้ชิดรวมถึงการตัดสินใจด้านนโยบายที่ตามมาจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจแนวโน้มในอนาคตของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลก

—-------------------

Source:

https://nftplazas.com/south-korea-sec/ 

https://beincrypto.com/south-korea-wants-spot-bitcoin-etf/ 

​​https://www.financemagnates.com/cryptocurrency/south-korean-financial-watchdog-turns-to-sec-for-bitcoin-etf-guidance/  

https://www.coindesk.com/videos/ 

https://cointelegraph.com/news/s-korea-regulator-spot-bitcoin-etf-sec-chief-gary-gensler 

RELATED BLOG

Use and Management of Cookies

We use cookies and other similar technologies on our website to enhance your browsing experience. For more information, please visit our Cookies Notice.

Reject
Accept