ทำไม Cross-Chain Messaging จึงสำคัญต่ออนาคต Web 3.0 ?
การพัฒนาแบบแยกส่วนหรือขาดการทำงานร่วมกันเนื่องจากขาดความสามารถในการทำงานร่วมกัน (Interoperability) ระหว่างแพลตฟอร์ม เป็นปัญหาที่นักพัฒนาแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (dApp) ได้เพิ่มความเร่งด่วนให้กับการแก้ไข และปัจจุบันยังขาดความสามารถในการสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานข้ามเครือข่ายอีกมาก โดยจุดประสงค์บทความนี้เพื่อให้เข้าใจความสำคัญว่าทำไม Cross-Chain Messaging จึงมีความสำคัญต่ออนาคตของโปรเจกต์ Blockchain และ Web 3.0 ในอนาคต
Cross-Chain Communication/Messaging คืออะไร?
Cross-Chain Communication/Messaging มีความสำคัญที่ทำให้การทำงานของเทคโนโลยีเกิดการกระจายศูนย์อย่างแท้จริง ซึ่งโปรเจกต์ Blockchain แต่ละแห่งมีโครงสร้างที่แตกต่างกันมาก จึงทำให้บางครั้งไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่ายได้โดยที่ไม่มีซอฟต์แวร์หรือตัวกลางอื่นๆ เข้ามาช่วย และเป็นสาเหตุที่ทำให้วิธีการสื่อสารหรือส่งข้อมูลแบบข้ามเครือข่ายเป็นที่ต้องการและให้ความสำคัญมากขึ้น
Cross-Chain Messaging เป็นการใช้ Smart Contract ส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครือข่าย Blockchain อย่างอิสระ และสำคัญกับ Web 3.0 ด้วยเหตุที่การใช้งานใน Web 3.0 โดยทั่วไปผู้ใช้ต้องจัดการกับสินทรัพย์และเข้าถึง dApps
โดย Cross-Chain Messaging ช่วยเชื่อมต่อผู้ใช้ไปยังเครือข่ายที่ได้รับการตรวจสอบความน่าเชื่อถืออื่นๆ ซึ่งช่วยสร้างเครือข่ายของการกระจายศูนย์ที่ผู้ใช้สามารถสื่อสารและโต้ตอบกับ dApps ได้สะดวกโดยไม่ต้องอาศัยสะพานเชื่อมหรือขั้นตอนอื่นๆ ที่ซับซ้อนกว่า จึงส่งผลให้ Web 3.0 เกิดการทำงานร่วมกันและมีการกระจายศูนย์ได้อย่างแท้จริง โดยที่ทั้งผู้ใช้และนักพัฒนา dApp จะได้รับประสบการณ์เข้าถึงที่สะดวกเพียงหนึ่งคลิก
ทำไม Cross-Chain Messaging มีความจำเป็นใน Web 3.0 ?
ระบบนิเวศแบบ Multi-Chain เริ่มมีการใช้งานจริงมากขึ้นใน Web 3.0 จึงมีความจำเป็นสำหรับการโต้ตอบระหว่างเครือข่าย Blockchain ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
หลังจากที่ dAapps ใน Web 3.0 ผ่านวิวัฒนาการหลายครั้งและได้มาถึงจุดที่สามารถใช้งานได้บนเครือข่ายเดียวพร้อมไปกับการปรับใช้ไปยังเครือข่ายที่หลากหลาย แต่วิธีในการดำเนินการยังคงไม่สมบูรณ์และเกิดการกระจัดกระจาย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหา เช่น การกระจายตัวของสภาพคล่องไปยังหลายตลาด และการลอกเลียนแบบ dApp เป็นต้น
ทั้งนี้ Blockchain แต่ละเครือข่ายสามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้โดยสร้างให้เกิดการทำงานร่วมกันมากขึ้น รวมถึงมีการแบ่งปันข้อมูลด้านตรรกะทางธุรกิจระหว่างแต่ละเครือข่าย เช่น Smart Contract และ Block Data ไม่ใช่แค่เพียงสภาพคล่อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้และสภาพคล่องจะไม่ถูกจำกัดอยู่เพียงในระบบนิเวศเดียว แต่จะได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและอิสระข้ามเครือข่าย
Use Cases ที่น่าสนใจ
ยกตัวอย่าง Use Cases จากโปรเจกต์ ‘Axelar’ เครือข่ายที่จะช่วยให้แต่ละ Blockchain สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อย่างปลอดภัยบน Web 3.0 เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้ผู้ใช้ dApp สามารถมีปฏิกิริยากับสินทรัพย์หรือแอปพลิเคชันบนเครือข่ายใดก็ได้เพียงคลิกเดียว
ความน่าสนใจโซลูชัน Cross-Chain Communication ของ Axelar คือการรักษาความปลอดภัยเครือข่าย ซึ่งใช้ระบบ Delegated Proof-of-Stake (DPoS) กลไกแบบ Permissionless ที่มีการสุ่มคัดเลือกผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Validator) แต่โดยส่วนใหญ่โซลูชัน Cross-Chain Communication อื่นๆ มักใช้วิธีการใช้หลายลายเซ็น (Multisig) ที่ยังมีช่องโหว่ค่อนข้างมากทำให้มีความเสี่ยงมากกว่า
ส่วน Use Cases จาก Axelar ได้แก่
- สร้าง Cross-Chain DEX หรือ AAM ที่เชื่อมต่อสภาพคล่องจากหลากหลายเครือข่าย หรือเรียกว่าคอนเซปต์ “Composable Liquidity”
- สร้างให้ DAOs สามารถประสานงานในทุกกิจกรรมได้ทุกแห่งบน Web 3.0 หรือ “Cross-Chain governance”
- “Cross-Chain NFTs” โดยสามารถใช้ NFTs ค้ำประกันบนเครือข่ายต่างๆ บน DeFi หรือในแง่การเล่นเกมก็สามารถทำให้สินทรัพย์ใดๆ ก็ตามเป็นเงินหรือ Credential ได้
นอกเหนือจากโปรเจกต์ Axelar ยัง มี Use Cases อื่นๆ อีกจำนวนมากจากหลายโปรเจกต์ที่น่าติดตามจากประโยชน์ของการ Cross-Chain Messaging อย่างเช่น คอนเซปต์ One-Click NFT Purchases ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถซื้อ NFT ที่ชื่นชอบได้โดยไม่ต้องนึกถึงเรื่องการเปลี่ยนเครือข่ายหรือแปลงสินทรัพย์ที่ต้องใช้ในการทำธุรกรรม
เนื่องจาก Cross-Chain Messaging ทำให้ผู้ใช้สามารถเก็บเงินไว้ในเครือข่ายที่พวกเขาเลือก และสามารถใช้สินทรัพย์และซื้อ NFT ในการทำธุรกรรมเพียงครั้งเดียว โดยไม่ต้องสลับ เชื่อมโยง และโต้ตอบกับ dApp ด้วยตนเอง และผลลัพธ์ที่ได้คือประสบการณ์การ Mint NFT แบบคลิกเดียวที่ใช้งานได้ง่าย
หากเครือข่าย Blockchain ไม่ให้ความสำคัญกับ Cross-Chain Messaging มากขึ้น จะส่งผลกระทบอย่างไรในอนาคต?
Cross-Chain Messaging เป็นคอนเซปต์ที่มีวิวัฒนาการจากกลไกเล็กๆ จนกลายเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของ DeFi และหลายคนต่างคาดการณ์ถึงอนาคตที่เป็น Multi-Chain ซึ่งส่วนของการดำเนินการของเครือข่ายต่างๆ สามารถเชื่อมถึงกันและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือสภาพคล่อง
นอกจากนี้ Cross-Chain Messaging ถือว่าเป็นโซลูชันสำคัญที่สามารถรับมือกับปัญหา อย่างเช่น การกระจายตัวของสภาพคล่อง (Liquidity Fragmentation) การโคลนนิ่ง dApp รวมถึงปัญหาความซับซ้อนของ UX ที่สร้างปัญหาให้กับ Web 3.0 มาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น
ที่สำคัญใน Web 3.0 หลายฝ่ายต่างพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกันของแต่ละเครือข่าย และปฏิเสธไม่ได้ว่าประสบการณ์การใช้งานผู้ใช้เป็นหัวใจหลักเพื่อให้เกิดการใช้งานในกระแสหลัก และอย่างที่ได้เห็นใน Web2 อย่างชัดเจนว่าการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้และการทำธุรกรรมที่ง่ายขึ้นเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ส่งผลให้มีจำนวนผู้ใช้มากขึ้นในทุกแพลตฟอร์มและธุรกิจ
ดังนั้น หากเครือข่าย Blockchain ต่างๆ ไม่ปรับตัวและปรับใช้คอนเซปต์ Cross-Chain Messaging ในอนาคตก็อาจส่งผลให้เครือข่ายของตนเผชิญความโดดเดี่ยวและไม่สามารถบรรลุสู่การใช้งานกระแสหลักได้